การทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในแบบกระแสตรงและกระแสสลับ

เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง จะมีการใช้มอเตอร์จากกระแสไฟฟ้าจากภายนอก  และในส่วนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตรงกันข้ามกับมอเตอร์ ใช้แรงจากภายนอกหมุนขดลวด ตัดกับสนามแม่เหล็ก เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้น  ซึ่งแหวนแยก หรือ คอมมิวเตเตอร์ เป็นส่วนที่สัมผัสกับแรงถ่าน ทำหน้าที่เชื่อมต่อกระแสไฟฟ้าออกสู่ภายนอก ไฟฟ้าที่ได้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง โดยมีแต่ด้านบวกอย่างเดียว

เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับจะ แตกต่างจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง คือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับมีวงแหวนลื่น มีลักษณะเป็นวงแหวน 2 วง เมื่อขดลวดหมุนตัวจะทำให้ได้กระแสไฟฟ้าวิ่งกลับไปกลับมาในวงจร จึงเรียกว่าไฟฟ้ากระแสสลับ

โดยมีจุดประสงค์ของการใช้งาน เพื่อจะเป็นเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าสำรองในกรณีที่กระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าดับและมีไฟฟ้าไว้ใช้อย่างต่อเนื่อง …..หลักการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยอาศัยการหมุนของขดลวดตัดสนามแม่เหล็ก หรือการหมุนสนามแม่เหล็กตัดขดลวด ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งจะมีต้นกำลัง เป็นส่วนที่ผลิตพลังงานกลขึ้นมา เพื่อหมุนเพลาของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า พวกกกังหันน้ำ , กังหันไอน้ำ, กังหันแก๊ส  ส่วน Generator เป็นตัวผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยหลักการเหนี่ยวนำของแม่เหล็กมีทั้งแบบทุ่นหมุน จะทำให้เกิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้นที่ปลายขดลวดทองแดง นำเอาแรงดันไฟฟ้านี้ไปใช้งานโดยผ่าน Slip Ring  และแปรงถ่าน รวมถึงแม่เหล็กธรรมชาติที่มีความเข้มของสนามแม่เหล็กคงที่ แต่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรงป้อนผ่านขดลวดทองแดงที่พันรอบแกนเหล็กอ่อน เพื่อทำให้เกิดแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้น ปริมาณของไฟฟ้ากระแสตรงนี้จึงสามารถ
ควบคุมปริมาณแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับได้ โดยการเพิ่มหรือลดปริมาณของไฟฟ้ากระแสตรง